วันอังคาร ที่ 5 มีนาคม พ.ศ 2556
สรุปงานวิจัย
ชื่อวิจัย : ผลการจัดการเรียนรู้จากกิจกรรมปฎิบัติจริงที่มีต่อทักษะทางคณิตเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย : จิตทนาวรรณ เดือนฉาย
ความสำคัญของการวิจัย : เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จากการเล่นเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การบอกตำแหน่งการนับเลข ของเด็กปฐมวัย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการส่งเสริม ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สำหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนจิ้นเตอะ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 จำนวน 30 คน
สรุปผลการวิจัย : การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิต พบว่า เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ร้อยละ 89.53 ของความสามารถพื้นฐานเดิม ก่อนการทดลอง โดยเด็กปฐมวัย มีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดหมวดหมู่มากเป็นอันดับแรก รองลงมาคือด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการบอกตำแหน่ง และ ด้านการเรียงลำดับตามลำดับ
แฟ้มสะสมผลงานการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียน
กิจกรรม
- อาจารย์และนักศึกษาพูดคุยสรุปเรื่องราวที่ได้เรียนมาเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าเวลาจะทำแผนการสอนต้องคำนึงถึงมาตราฐานคณิ ศาสตร์
- คณิตศาสตร์เป็นเรื่องของการคิดอย่างสร้างสรรค์คิดได้หลากหลายเวลาสอน เด็กควรทำมายแมปและตารางสัมพันธ์ควบคู่ไปด้วยทำให้เด็กและครูเกิดความเข้าใจ ร่วมกัน
- สอนวิธีการใช้เกณฑ์ตั้งคำถาม เช่น กล้วยที่มีสีเหลือง กับกล้วยที่มีสีเขียว ให้ใช้คำถามเกณฑ์เดียวคือ กล้วยที่มีสีเขียวมีกี่ลูก ที่เหลือเด็กก็จะรู้เองว่าคือกล้วยที่มีสีเขียว
- สอนเด็กจัดประเภทของบางอย่างมันสัมพันธ์กันเด็กก็ได้รู้แล้วเข้าใจว่าทำไมของบางอย่างต่างกันแต่อยู่ด้วยกัน
- ต้องมีการบันทึกโดยใช้ตารางเปรียบเทียบในการสอนควบคู่กันไปด้วย
- เสื้อสูตรว่าจะตัดหรือไม่
- ตกลงวันจัดงานกีฬาสี
- ตงลงวันเวลาไปดูงานที่ลาว ตกลงเรื่องรถและค่าใช้จ่ายว่าต้องช่วยกันออกส่วนไหนบ้าง
อาจารย์กระดาษคนละแผ่นและให้เขียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3 ข้อได้แก่
- ได้ความรู้อะไร
- ได้ทักษะอะไร
- รู้วิธีสอน ตีโจทย์ได้ไหม
- ให้สรุปวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยลงบล็อคห้ามซ้ำกันกับเพื่อน
วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียน
กิจกรรม
เพื่อนสอบสอน หน่วย "ร่างกายของเรา"
อาจารย์ให้คำแนะนำวิธีการสอนที่ถูกต้อง
- การสอนต้องได้มาตราฐานตามกรอบมาตราฐานคณิตศาสตร์
- ใช้คำถาม...ถามเด็กให้ถูกต้องไม่ซับซ้อนวกวน
- ต้องรู้จักวิธีควบคุมเด็กเพื่อให้เด็กสนใจทำกิจกรรม
วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สรุปบทความ
วิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วย การคิดคำนวณ แสดงเหตุ และผล ที่บอกด้วยตัวเลข หรือว่าด้วยความสัมพันธ์ แต่ภาษาของการบอกส่วนใหญ่มักจะบอกออกมาเป็นตัวเลข
ซึ่งในความสัมพันธ์เหล่านี้ ถ้าผู้เรียนไม่ได้มีความเข้าใจมาแต่แรก ซึ่งอาจเนื่องมาจากเวลาที่ไม่พอเพียงระหว่างครูและผู้เรียนที่มีให้กันในการ เรียนการสอน หรือ แนวทางในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ของครูที่มีให้แก่ผู้เรียน ซึ่งไม่สามารถก่อให้เกิดความสนใจ ที่มากพอให้แก่ผู้เรียน ผลจากปัญหาเหล่านี้ จะทำให้คณิตศาสตร์ได้ถูกลดทอนความสำคัญลงไป จนทำให้ผู้เรียนมองข้าม ทั้งที่วิชานี้เป็นวิชาที่นำไปสู่จินตนาการและผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิต ประจำวันได้
ในความเป็นจริง วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการคิดที่สนุกสนาน และสามารถจับต้องและลงมือปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ที่ถ่ายทอดเนื้อหาวิชา จะทำการถ่ายทอดและชี้แนะทักษะในการคิดคำนวณ จะสามารถทำการถ่ายทอดเรื่องที่ยากให้กลายเป็นสิ่งที่แสนจะง่ายดายและสนุก สนานได้อย่างไร
เด็กไทยยังคงอยู่กับการท่องจำ และพยายามจดจำหลักการ โดยที่ยังไม่เข้าใจในเนื้อหาที่ตนเองท่องมากมายสักเท่าไหร่ หรือยังมองไม่เห็นความสำคัญ ในประโยชน์ของการนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร
ในลักษณะการสอนในแบบของทีมงานครูอลิส ที่ได้คัดสรรครูที่มีคุณภาพในการถ่ายทอดเนื้อหา และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแนวคิดให้ผู้เรียนได้คิดอย่างเป็นระบบ และ อีกทั้งยังได้ฝึกให้ผู้เรียน ได้ลองคิดด้วยทักษะส่วนตัว ที่ผู้เรียนนั้นมีอยู่แล้วในตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถรู้ถึงทักษะทางคณิตศาสตร์ ที่มีอยู่ในตัวเอง และรู้จักที่จะนำไปใช้ได้จริงโดยตัวของผู้เรียนเอง ซึ่งผู้เรียนจะรู้จักคิด และแก้ไขปัญหา และวิเคราะห์โจทย์ได้ตรงประเด็น เพราะคณิตศาสตร์ ไม่ได้มีเฉพาะแค่ตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
คณิตศาสตร์กับอาเซี่ยน
เราสามารถนำรูปภาพหรือจำนวนเหล่านี้มาปรับใช้เป็นคณิตศาสร์ให้กับเด็ก ปฐมวัยได้เรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานทีนี้เด็กๆก็จะได้รู้จักกับอาเซี่ยนได้ดี ยิ่งขึ้น
วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
เด็กๆมารู้จักกับอาเซี่ยนกัน
โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The
Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม
พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม
ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538
ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา
เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542
ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้
1.ประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูป แบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
2.ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย
มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและ ช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
3.ประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้อ อาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันในประชาคมอาเซียน
บันทึกการเรียน
กิจกรรม
กลุ่ม 4 สอบสอน "หน่วยกระดุม"
1.วันจันทร์ ชนิดของกระดุม (มิ้งค์)
- นำเข้าสู่บทเรียน ครูร้องเพลง
หลับแล้วฝัน เห็นเทวดา
มาร่ายรำ งามขำโสภา
พอตื่นขึ้นมา เทวดาไม่มี
- ครูแจกภาพที่เป็นจิ๊กซอว์ให้เด็กและให้เด็กนำมาต่อเป็นภาพให้สมบูรณ์
- เด็กบอกครูสิคะว่าเป็นภาพอะไร
- เด็กๆบอกครูแล้วครูเขียนไว้บนกระดาน
- เด็กๆอยากทราบไหมว่ากระดุมในขวดนี้มีทั้งหมดกี่เม็ด
- ครูและเด็กช่วยกันนับกระดุมในขวด 1 2 3 4
- ครูให้เด็กร่วมกันนับรูของกระดุม ที่มี1รู และ4 รูแล้วร่วมกันสรุปว่ากระดุมที่มี1รูมีกี่เม็ดส่วนเม็ดที่เหลือคือกระดุมที่มี4 รู
กระดุมโลหะกับกระดุม อโลหะ เด็กๆจะรู้ได้อย่างไรต้องลองใช้แม่เหล็กมาดูด เพื่อแยกแยะกระดุม ถ้าดูดได้แปลว่าเป็นกระดุมโลหะส่วนที่เหลือคือกระดุมอโลหะ
วาดตารางสัมพันธ์ให้เด็กร่วมกันสรุป
3. ประโยชน์ของกระดุม (มิ้น)
- ให้แต่งนิทานที่มีความสอดคล้องและเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
- เก็บใส่กล่อง กระปุก ถุง ขวด
- เด็กลองบอกครูสิคะว่าเราจะไปหาซื้อกระดุมได้จากที่ไหน
- เด็กๆบอกครูสิคะว่าถ้าเรามีกระดุมเราสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง
- เด็กๆบอกครูสิคะว่าเราจะเก็บรักษากระดุมได้อย่างไรและเก็บใสอะไรได้บ้าง
5.ข้อควรระวังของกระดุม (ฝ้าย)
*ไม่ได้เข้าเรียน
บันทึกการเรียนรู้
กิจกรรม
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทั้งสองเซคมาเรียนรวมกันเพื่อตกลงเรื่องกิจกรรมที่จะต้องจัดและแบ่งหน้าที่กันดังนี้
- การแสดงรำ สว่างจิต (แพตตี้)
- ร้องเพลง รัตติยา (จูน)
- โฆษณา นิสาชล (โบ) ละมัย (เปิ้ล)
- พิธีกร (ลูกหยี) (ซาร่า)
- การแสดงโชว์
- ลิปซิ้งเพลง จุฑามาศ นีรชา
- เต้นประกอบเพลง พลอยปภัส เกตุวดี มาลินี
- ละครใบ้ ลูกหมี จันทร์สุดา
- ตลก ณัฐชา แตง ชวนชม
- ผู้กำกับหน้าม้า พวงทอง นฎา
- หน้าม้า เพื่อนๆที่เหลือเป็นหน้าม้า
- การนับ
- การลำดับเหตุการณ์
- การทำตามแบบ
- การบวก
บันทึกการเรียน
กิจกรรม
พูดแนะนำเกี่ยวกับการอ่านงานวิจัย และให้ไปศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิจัยด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ให้แต่ละหน่อวยออกไปสอบสอนวันนี้สอบได้3หน่วยคือ
- หน่วยขนมไทย
- ข้าว
- กล้วย
การบ้าน
- ให้สอบสอนในคาบถัดไป
วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียน
กิจกรรม
อาจารย์สาธิตการสอน
เพื่อนออกไปรายงาน1 กลุ่ม
*อาจารย์ติดประชุมจึงต้องสอบสอนในคาบต่อไป
การบ้าน
เพื่อนออกไปรายงาน1 กลุ่ม
*อาจารย์ติดประชุมจึงต้องสอบสอนในคาบต่อไป
การบ้าน
- เตรียมสาธิตการสอนตามแผนที่เขียนไว้(หน่วยกระดุมหลากสี)ในคาบถัดไป
วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียน
กิจกรรม
อาจารย์อธบายถึงเทคนิคการสอนเด็กโดยการใช้คำถามที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก
- เวลาใช้คำถาม ถามเด็กให้ ถามว่า "เด็กๆนึกถึงอะไร" ไม่ควรใช้คำว่า "คือ " เพราะจะทำให้เด็กได้มีอิสระในการคิด และกล้าแสดงความคิดเห็น
- เกณฑ์ คือ ตัวชี้วัดที่เป็นตัวเลข
- มาตราฐาน คือ สิ่งที่คนทั่วไปยอมรับได้
มาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของ สสวท.
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
- จำนวน>นับ>ค่า>ตัวเลขกำกับ
- การดำเนินการ นำจำนวนมาใช้ในชีวิตประจำวัน
สาระที่ 2 การวัด
- มีค่าและปริมาณที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขโดยใช้เครื่องมือวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง (ใช้เครื่องมือ ปริมาณ ตัวเลข หน่วย)
สาระที่ 4 พีชคณิต
- เข้าใจรูปแบบและความสำพันธ์
สาระที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- รวบรวมข้อมูล(สถิติ) การนำเสนอ(กราฟ)
สาระที 6 ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- ทำสถิติ
- จำนวน
- เซต
- เรียงต่อกัน
- ขนาด
- ใช้เกณฑ์
การบ้าน
- เตรียมสอบสอนตามแผนที่เขียนไว้(กระดุมหลากสี)
สรุปบทความ6 เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ เคล็ดลับสำหรับเด็กเกลียดเลข
- ใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านมาสอนเด็ก จะสอนการเปรียบเทียบ วัดระยะทาง
- เทคนิคการอ่านโจทย์เลข
- ใช้ศิลปะเข้าช่วย เน้นคำถามเชิงเปรียบเทียบ คำถามเชิงเหตุผลเข้ามาช่วย
- การ อ่านการ์ตูน ต้องทำเป็นเรื่องราวการบวก ลบ คูณ หาร เด็กก็จะสนุกกับภาพการ์ตูนที่ได้ดูและจะมีประสบการณ์ที่เคยเห็นการบวกลบ คูณ หารได้เรียนรู้มากขึ้น
- การเล่นบทบาทสมมติ
- เกม เกมเศรษฐี การทอยลูกเต๋า เด็กได้เรียนรู้ว่าแต้มไหนมากกว่า แต้มไหนน้อยกว่า
วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียน
บันทึกการเรียน
* หมายเหตุไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก "สอบกลางภาค"
บันทึกการเรียน
*หมายเหตุไม่มีการเรียนการสอน
การบ้าน
สั่งให้ทำงานที่ให้ทำในคาบที่แล้วคือดอกไม้แกนทิชชู่
บันทึกการเรียน
กิจกรรม
- พูดคุยเรื่องกล่องที่นำมาส่ง
- อาจารย์ถามว่าเห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร "วันคริสมาส กล่องของขวัญ ริบบิ้น
- อาจารย์ถามอีกว่านอกจากกล่องใส่ของได้แล้วนำมาทำอะไรได้อีก ทำตุ๊กตา ลิ้นชัก ฯลฯ
- อาจารย์พูดถึงรูปร่างลักษณะ กล่องว่ามีแบบใดบ้าง สี่เลี่ยมจัตุรัต ผืนผ้า คางหมู
การเรียนรู้เรื่องกล่อง
- จำนวน
- รูปร่าง
- เปรียบเทียบขนาดกล่อง
- เรียงลำดับ กล่องเล็ก-ใหญ่ สั้น-ยาว
- เซต
- เศษส่วน
อาจารย์กำหนดรูปแบบให้ต่อเป็นเรื่องเดียวกัน ต่อเป็น"สวนสัตว์"
บันทึกการเรียน
กิจกรรม
- ส่งงานความเรียงที่ได้นำไปปรับปรุง หน่วย "กระดุม"
- ออกไปอ่านความเรียงหน้าชั้น พร้อมทั้งอาจารย์แนะแนวคำพูดที่ควรใช้กับเด็กเพื่อให้เหมาะกับวัยของเด็ก
- การกำหนดและการแยกประเภท ควรใช้เกณฑ์เดียวกันเพื่อจะไม่ให้เด็กเกิดความสับสน
อาจารย์แนะนำว่า
- อย่าให้เด็กอนุบาลใช้ดินสอวาด ให้ใช้สีดำวาดแทน เพื่อไม่ให้เด้กพะวงเรื่องการลบหากวาดผิด ให้ใช้สีไม้ สีเทยน สีดำ
- อย่าให้เด็กวาดตามแบบควรให้เด็กวาดเองตามจินตนาการ
- ให้สอนแบบกระดุมหลากสี รายบุคล แต่จับกลุ่ม 5 คนแบ่งกันคนละ 1 วัน
- อาทิตหน้านำกล่องเปล่ามาคนละ1 กล่อง
บันทึกการเรียน
กิจกรรม
- ทำมายแมปของแต่ละคนกลุ่มดิฉันทำเรื่อง"กระดุมหลากสี"
- ออกไปพรีเซ้นเรื่องกระดุมหลากสีหน้าชั้นเรียน
- อาจารย์แนะนำการทำมายแมปแบบระบบคอมพิวเตอร์
การบ้าน
- ให้เขียน หน่วยกระดุมว่าจะใช้คำพูดกับเด็กแบบไหนส่งคาบหน้า
วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียน
กิจกรรม
- อาจารย์ให้ส่งงานหน่วยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์คือ หน่วย "กระดุม"
- ร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มถึงหน่วยที่เรียนมา
(อาจารย์ นิติยา ประพฤติกิจ)
- การนับ เป็นศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรก
- ตัวเลข ให้เด้กรู้จักตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- การจับคู่ ฝึกให้รู้จักสังเกต ลักษณะ
- การจัดประเภท ฝีกให้รู้จักสังเกตคุณสมบัติสิ่งต่างๆ
- การเปรียบเทียบ มากกว่าสั้นกว่า ยาวกว่า
- การจัดลำดับ ใช้เรียงสูงต่ำสั้นยาว
- รูปทรงและเนื้อที่ ทรงกลม วงรี สี่เหลี่ยม
- การวัด ความยาว ระยะทาง น้ำหนัก
- เซต การจัดประเภท รวมกลุ่ม
- การทำตามแบบหรือลวดลาย ฝึกการสังเกต ทำตามแบบ ต่อภาพให้สมบูรณ์
- เศษส่วน
- การอนุรักษ์ มีความคิดรวบยอด เด็กบอกเหตุผลได้ เด็กเชื่อมโยงความรู้ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)