วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

วันอังคาร ที่ 5 มีนาคม พ.ศ 2556
สรุปงานวิจัย
ชื่อวิจัย  :   ผลการจัดการเรียนรู้จากกิจกรรมปฎิบัติจริงที่มีต่อทักษะทางคณิตเด็กปฐมวัย

 ผู้วิจัย    :    จิตทนาวรรณ เดือนฉาย

ความสำคัญของการวิจัย   :   เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์                  จากการเล่นเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การบอกตำแหน่งการนับเลข ของเด็กปฐมวัย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการส่งเสริม           ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สำหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

กลุ่มตัวอย่าง  :   นักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนจิ้นเตอะ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร   สังกัดสำนักบริหารงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 จำนวน 30 คน

สรุปผลการวิจัย   :   การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิต พบว่า เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ร้อยละ 89.53 ของความสามารถพื้นฐานเดิม         ก่อนการทดลอง โดยเด็กปฐมวัย มีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดหมวดหมู่มากเป็นอันดับแรก   รองลงมาคือด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการบอกตำแหน่ง และ  ด้านการเรียงลำดับตามลำดับ

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 16 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556
กิจกรรม
  1. อาจารย์และนักศึกษาพูดคุยสรุปเรื่องราวที่ได้เรียนมาเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าเวลาจะทำแผนการสอนต้องคำนึงถึงมาตราฐานคณิ ศาสตร์
  2. คณิตศาสตร์เป็นเรื่องของการคิดอย่างสร้างสรรค์คิดได้หลากหลายเวลาสอน เด็กควรทำมายแมปและตารางสัมพันธ์ควบคู่ไปด้วยทำให้เด็กและครูเกิดความเข้าใจ ร่วมกัน
  3. สอนวิธีการใช้เกณฑ์ตั้งคำถาม เช่น กล้วยที่มีสีเหลือง กับกล้วยที่มีสีเขียว ให้ใช้คำถามเกณฑ์เดียวคือ กล้วยที่มีสีเขียวมีกี่ลูก ที่เหลือเด็กก็จะรู้เองว่าคือกล้วยที่มีสีเขียว
  4. สอนเด็กจัดประเภทของบางอย่างมันสัมพันธ์กันเด็กก็ได้รู้แล้วเข้าใจว่าทำไมของบางอย่างต่างกันแต่อยู่ด้วยกัน
  5. ต้องมีการบันทึกโดยใช้ตารางเปรียบเทียบในการสอนควบคู่กันไปด้วย
พูดคุยตกลงเรื่อง
  • เสื้อสูตรว่าจะตัดหรือไม่
  • ตกลงวันจัดงานกีฬาสี
  • ตงลงวันเวลาไปดูงานที่ลาว ตกลงเรื่องรถและค่าใช้จ่ายว่าต้องช่วยกันออกส่วนไหนบ้าง
งานที่ทำในห้องเรียน
อาจารย์กระดาษคนละแผ่นและให้เขียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3 ข้อได้แก่
  1. ได้ความรู้อะไร
  2. ได้ทักษะอะไร
  3. รู้วิธีสอน ตีโจทย์ได้ไหม
การบ้าน
  • ให้สรุปวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยลงบล็อคห้ามซ้ำกันกับเพื่อน

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 15 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556
กิจกรรม
เพื่อนสอบสอน หน่วย "ร่างกายของเรา"

อาจารย์ให้คำแนะนำวิธีการสอนที่ถูกต้อง
  • การสอนต้องได้มาตราฐานตามกรอบมาตราฐานคณิตศาสตร์
  • ใช้คำถาม...ถามเด็กให้ถูกต้องไม่ซับซ้อนวกวน
  • ต้องรู้จักวิธีควบคุมเด็กเพื่อให้เด็กสนใจทำกิจกรรม

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปบทความ

เรื่องเด็กไทยกับคณิตศาสตร์

              วิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วย การคิดคำนวณ แสดงเหตุ และผล ที่บอกด้วยตัวเลข หรือว่าด้วยความสัมพันธ์ แต่ภาษาของการบอกส่วนใหญ่มักจะบอกออกมาเป็นตัวเลข
ซึ่งในความสัมพันธ์เหล่านี้ ถ้าผู้เรียนไม่ได้มีความเข้าใจมาแต่แรก ซึ่งอาจเนื่องมาจากเวลาที่ไม่พอเพียงระหว่างครูและผู้เรียนที่มีให้กันในการ เรียนการสอน หรือ แนวทางในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ของครูที่มีให้แก่ผู้เรียน ซึ่งไม่สามารถก่อให้เกิดความสนใจ ที่มากพอให้แก่ผู้เรียน ผลจากปัญหาเหล่านี้ จะทำให้คณิตศาสตร์ได้ถูกลดทอนความสำคัญลงไป จนทำให้ผู้เรียนมองข้าม ทั้งที่วิชานี้เป็นวิชาที่นำไปสู่จินตนาการและผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิต ประจำวันได้
ในความเป็นจริง วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการคิดที่สนุกสนาน และสามารถจับต้องและลงมือปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ที่ถ่ายทอดเนื้อหาวิชา จะทำการถ่ายทอดและชี้แนะทักษะในการคิดคำนวณ จะสามารถทำการถ่ายทอดเรื่องที่ยากให้กลายเป็นสิ่งที่แสนจะง่ายดายและสนุก สนานได้อย่างไร
เด็กไทยยังคงอยู่กับการท่องจำ และพยายามจดจำหลักการ โดยที่ยังไม่เข้าใจในเนื้อหาที่ตนเองท่องมากมายสักเท่าไหร่ หรือยังมองไม่เห็นความสำคัญ ในประโยชน์ของการนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร
ในลักษณะการสอนในแบบของทีมงานครูอลิส ที่ได้คัดสรรครูที่มีคุณภาพในการถ่ายทอดเนื้อหา และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแนวคิดให้ผู้เรียนได้คิดอย่างเป็นระบบ และ อีกทั้งยังได้ฝึกให้ผู้เรียน ได้ลองคิดด้วยทักษะส่วนตัว ที่ผู้เรียนนั้นมีอยู่แล้วในตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถรู้ถึงทักษะทางคณิตศาสตร์ ที่มีอยู่ในตัวเอง และรู้จักที่จะนำไปใช้ได้จริงโดยตัวของผู้เรียนเอง ซึ่งผู้เรียนจะรู้จักคิด และแก้ไขปัญหา และวิเคราะห์โจทย์ได้ตรงประเด็น เพราะคณิตศาสตร์ ไม่ได้มีเฉพาะแค่ตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

คณิตศาสตร์กับอาเซี่ยน

เราจะเรียนคณิตศาสตร์แบบอาเซี่ยนได้อย่างไรบ้างมาดูกัน


 เราสามารถนำรูปภาพหรือจำนวนเหล่านี้มาปรับใช้เป็นคณิตศาสร์ให้กับเด็ก ปฐมวัยได้เรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานทีนี้เด็กๆก็จะได้รู้จักกับอาเซี่ยนได้ดี ยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เด็กๆมารู้จักกับอาเซี่ยนกัน

 
           โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
 
        ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้

1.ประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูป แบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

2.ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและ ช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน


 ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน

กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)

  3.ประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้อ อาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม


          สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันในประชาคมอาเซียน

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 14 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556
กิจกรรม
กลุ่ม 4 สอบสอน "หน่วยกระดุม"



1.วันจันทร์ ชนิดของกระดุม (มิ้งค์)
  • นำเข้าสู่บทเรียน ครูร้องเพลง
หลับตาเสีย อ่อนเพลียทั้งวัน
หลับแล้วฝัน เห็นเทวดา
มาร่ายรำ  งามขำโสภา
พอตื่นขึ้นมา  เทวดาไม่มี
  • ครูแจกภาพที่เป็นจิ๊กซอว์ให้เด็กและให้เด็กนำมาต่อเป็นภาพให้สมบูรณ์
  • เด็กบอกครูสิคะว่าเป็นภาพอะไร
ชนิดของกระดุม
  • เด็กๆบอกครูแล้วครูเขียนไว้บนกระดาน
  • เด็กๆอยากทราบไหมว่ากระดุมในขวดนี้มีทั้งหมดกี่เม็ด
  • ครูและเด็กช่วยกันนับกระดุมในขวด 1 2 3 4
  • ครูให้เด็กร่วมกันนับรูของกระดุม ที่มี1รู และ4 รูแล้วร่วมกันสรุปว่ากระดุมที่มี1รูมีกี่เม็ดส่วนเม็ดที่เหลือคือกระดุมที่มี4 รู
2.  อังคาร ลักษณะของกระดุม (ดิว)
กระดุมโลหะกับกระดุม อโลหะ เด็กๆจะรู้ได้อย่างไรต้องลองใช้แม่เหล็กมาดูด เพื่อแยกแยะกระดุม ถ้าดูดได้แปลว่าเป็นกระดุมโลหะส่วนที่เหลือคือกระดุมอโลหะ
วาดตารางสัมพันธ์ให้เด็กร่วมกันสรุป
3. ประโยชน์ของกระดุม (มิ้น)
  • ให้แต่งนิทานที่มีความสอดคล้องและเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
4.วิธีการเก็บรักษากระดุม
  • เก็บใส่กล่อง กระปุก ถุง ขวด
ใช้คำถาม..ถามเด็กว่า
  • เด็กลองบอกครูสิคะว่าเราจะไปหาซื้อกระดุมได้จากที่ไหน
  • เด็กๆบอกครูสิคะว่าถ้าเรามีกระดุมเราสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง
  • เด็กๆบอกครูสิคะว่าเราจะเก็บรักษากระดุมได้อย่างไรและเก็บใสอะไรได้บ้าง

5.ข้อควรระวังของกระดุม (ฝ้าย)
*ไม่ได้เข้าเรียน